นโยบายภายในประเทศและนโยบายต่างประเทศ ของ พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส

แม้ว่าจะเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่มีพระชนมายุมากแล้วและทรงมีอำนาจโดยไม่ได้คาดพระเจ้าหลุยส์ก็เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีบทบาทที่รวมทั้งการปฏิรูประบบกฎหมาย, ลดภาษี และปรับปรุงรัฐบาล เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์ในสมัยเดียวกันสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงทำในอังกฤษ นอกจากนั้นก็ยังทรงเป็นผู้มีประสิทธิภาพในการบริหารขุนนางที่รวมทั้งฝักฝ่ายของราชวงศ์บูร์บองผู้มีอำนาจซึ่งเป็นการทำให้สร้างความมั่นคงให้แก่รัฐบาล ในกฤษฎีกาแห่งบลัวส์ (Ordinance of Blois) ของ ค.ศ. 1499 และใน กฤษฎีกาแห่งลิออง (Ordinance of Lyon) ของ ค.ศ. 1510 พระเจ้าหลุยส์ทรงขยายอำนาจของผู้พิพากษาและทรงพยายามจำกัดความฉ้อโกงทางกฎหมาย กฎหมายอันซับซ้อนของฝรั่งเศสก็ได้รับการบัญญัติและอนุมัติโดยพระราชประกาศ

ในการพยายามควบคุมดัชชีแห่งมิลาน (Duchy of Milan) ที่ทรงอ้างสิทธิจากการเป็นพระปนัดดาทางพระบิดาของวาเล็นตินา วิสคอนติ (Valentina Visconti) พระเจ้าหลุยส์ทรงเริ่มการทำศึกในสงครามอิตาลี (Italian Wars) หลายครั้งและทรงได้รับความสำเร็จในการยึดมิลานในปี ค.ศ. 1499 จากลุดโดวิโค สฟอร์ซา (Ludovico Sforza) และใช้เป็นที่ตั้งมั่นของฝรั่งเศสอยู่ 12 ปี ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือชัยชนะที่ทรงได้รับต่อเวนิสในยุทธการอญาเดลโล (Battle of Agnadello) ในปี ค.ศ. 1509 แต่หลังจากนั้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1510 สถานะการณ์ก็เริ่มเลวร้ายลง โดยเฉพาะเมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ผู้ทรงเป็นนักการทหารผู้มีความสามารถทรงเข้าครอบครองวาติกันและก่อตั้ง “สันนิบาตคาทอลิกอิตาลี” (Catholic League) เพื่อป้องกันการขยายอำนาจของฝรั่งเศสในอิตาลี ในที่สุดฝ่ายฝรั่งเศสก็ถูกขับออกจากมิลานในปี ค.ศ. 1513

ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชอาณาจักรเนเปิลส์ร่วมกับพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2แห่งราชอาณาจักรอารากอน ทั้งสองพระองค์ตกลงแบ่งอาณาจักรเนเปิลส์ในสนธิสัญญากรานาดา (ค.ศ. 1500) แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถตกลงกันได้จนก่อให้กิดสงคราม ในที่สุดในปี ค.ศ. 1504 ก็เสียเนเปิลส์

พระเจ้าหลุยส์ทรงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นผู้ที่มีความนิยม ในปลายรัชสมัยของพระองค์ฐานะทางการคลังของพระองค์ก็มิได้ต่างไปจากเมื่อทรงเริ่มขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1498 เท่าใดนักแม้ว่าจะทรงใช้เงินไปในการทำศึกเป็นจำนวนมากหลายครั้งในอิตาลีก็ตาม การปฏิรูปงบประมาณแผ่นดินของปี ค.ศ. 1504 และปี ค.ศ. 1508 เป็นการจำกัดการใช้จ่ายและการปรับปรุงระบบการเก็บภาษี พระเจ้าหลุยส์ทรงได้รับการขนานนามว่าเป็น “พระบิดาของประชาชน” ("Le Père du Peuple") ในปี ค.ศ. 1506

ใกล้เคียง

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส